วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจ  
                                                                                                                                                            
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพในสังคม การผลิตสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจก็ตาม สังคมทุกรูปแบบไม่ว่าจะมองในแง่ส่วนบุคคลแต่ละคนหรือในแง่เป็นหมู่คณะ ต่างก็มีความต้องการในสินค้าและบริการมากกว่ากำลังการผลิตเสมอ ยิ่งสังคมเจริญก้าวหน้ามากขึ้นก็จะก่อให้เกิดการขยายตัวของความต้องการชนิดใหม่ หรือความต้องการชนิดใหม่ในรูปแบบเก่าอยู่ตลอดเวลา ความต้องการทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางสติปัญญา และจินตนาการมีมากมายหลายรูปแบบ และโดยแท้จริงแล้ว ความต้องการต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมักจะมีจุดอิ่มตัวได้ เช่น เมื่อหิวคนเราต้องการอาหารจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง แต่เมื่ออิ่มก็ไม่ต้องการอาหารอีกจนกว่าจะเกิดความหิวและต้องการอาหารขึ้นมาใหม่ แต่ความต้องการทั้งหมดของคนเรานั้นไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อมนุษย์มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตครบถ้วนแล้วก็เริ่มมีความต้องการที่พิเศษออกไป เช่น อยากรับประทานอาหารรสเลิศตามสถานที่หรู ๆ ชุดเดินเล่น ฯลฯ ความต้องการต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อแบ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีวิธีการตัดสินว่าความต้องการชนิดใดมีความสำคัญกว่ากัน เพื่อจะได้จัดเข้าเป็นความต้องการที่ได้รับการบำบัดก่อนหลัง การจัดลำดับความสำคัญของความต้องการและการหาสรรพสิ่งต่างๆ มาบำบัดความต้องการนี้เองเป็นหน้าที่การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจ
ความหมายของระบบเศรษฐกิจ 
ระบบเศรษฐกิจ คือ ระบบการผลิตและกระจายสินค้าและบริการ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรในสังคมหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยการรวมสถาบัน หน่วยงานและผู้บริโภคซึ่งประกอบเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชนหนึ่ง มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง คือ วิถีการผลิต
อนึ่งความหมายของระบบเศรษฐกิจ สามรถกล่าวตามความเข้าใจง่ายๆว่า คือ การจัดสรรสรพยากร     ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่าง ไม่จำกัด เพื่อให้ใช้สรรพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นใช้ไปในทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับมวลมนุษย์ และสามารถมีสรพยากรใช้ได้ต่อไปในคนรุ่นหลัง
ความหมายระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)  
เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นเอกชนจึงเป็นผู้ตัดสินแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดช่วยในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ทั้งนี้ราคาเป็นตัวกำหนดว่ามีผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดหรือมีผู้ผลิตจำนวนเท่าใด ณ ราคานั้นๆ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้มีการแข่งขันทางราคาสูงมากและเป็นไปอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะราคาถูกกำหนดขึ้นมาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาด
ความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว อาทิ ที่พักอาศัย
ความหมายของระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น